ทำความรู้จักเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เบื้องต้นว่าประกอบด้วยอะไรและทำงานอย่างไร
เครื่องกำเนินไฟฟ้า หรือเครื่องปั่นไฟ หรือที่เรียกว่า Generator Set เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบสำรองไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในจุดที่ต้องการความเสถียรการเป็นจุดสำรองที่มั่นใจได้สูง
หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือการเปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า มีจุดประสงค์หลักในการใช้งานคือการผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองเมื่อมีการดับไฟฟ้า เพื่อให้หน่วยงานภาคต่างๆหรือบริษัทสามารถใช้งานไฟฟ้าทดแทนระบบไฟฟ้าหลักได้อย่างต่อเนื่อง
หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักคือ
- ชนิดกระแสตรงหรือไดนาโม (Dynamo) และ
- ชนิดกระแสสลับหรืออัลเตอร์เนเตอร์ (Alternator)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีส่วนประกอบหลักที่ทำให้การทำงานเป็นไปได้ คือ
- เครื่องยนต์ (Engine)
- ไดร์ปั่นไฟ (Alternator) และ
- ชุดควบคุม (Controller)
ทั้งสามส่วนนี้ถูกนำมารวมกันเพื่อให้เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเต็มรูปแบบ
เครื่องยนต์สามารถเป็นชนิดเบนซิน, ดีเซล, หรือใช้แก๊ส และมีระบบสายส่งทั้งระบบ 1 เฟสและระบบ 3 เฟส ส่วนชุดควบคุมสามารถทำงานได้ทั้งแบบมือ (Manual) และอัตโนมัติ (Automatic)
สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมมักจะเป็นชนิดกระแสสลับ ทั้งแบบ 1 เฟสและ 3 เฟส โดยมีรูปแบบการขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ที่มีประสิทธิภาพสูง ทนทานต่อการใช้งานหนัก และให้กำลังไฟฟ้าที่ต่อเนื่อง
การทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขั้นตอนหลายขั้นตอน ได้แก่ Exciter, Rotating Rectifier, Main Generator, และ Automatic Voltage Regulator (A.V.R.) ซึ่ง A.V.R. เป็นหน่วยควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ทำให้การผลิตไฟฟ้ามีความเสถียร
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไม่เพียงแค่มีความหลากหลายในรูปแบบและการใช้งาน แต่ยังสามารถปรับความถี่ของกระแสไฟฟ้าได้ ในทางปฏิบัติ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้กิจการหรือสถานประกอบการทำงานได้ต่อเนื่องแม้กระทั่งช่วงที่เกิดการไฟฟ้าดับ
F A Q
- Q1: ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set) ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อะไรบ้าง
- Q2: เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบ Prime Rating และ Standby Rating แตกต่างกันอย่างไร
- Q3: ATS คืออะไร
- Q4: Permanent Magnet Generator (PMG) คืออะไร
- Q5: เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มี AVR ควบคุมไม่ควรเดินรอบเท่าไหร่ที่จะมีผลต่อขดลวดต่างๆ
- Q6: เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีการรับประกันอย่างไร
- Q7: การติดตั้งชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงส่วนใดบ้าง
ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Set) ประกอบด้วยส่วนหลักๆ อะไรบ้าง
คำตอบ :
|
|
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบ Prime Rating และ Standby Rating แตกต่างกันอย่างไร
คำตอบ : การแบ่งพิกัดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วไปแบ่งออกเป็น การใช้งาน ดังนี้ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Prime Rating และ Standby Rating แตกต่างกันที่ความสามารถในการจ่ายกำลังไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Prime Rating สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่หยุดพัก ในขณะที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Standby Rating สามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดเป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น
ตารางเปรียบเทียบ |
คุณสมบัติ | Prime Rating | Standby Rating |
---|---|---|
ความสามารถในการจ่ายกำลังไฟฟ้า | ต่อเนื่อง | สูงสุดเป็นเวลาสั้นๆ |
การใช้งาน | เป็นแหล่งจ่ายไฟหลัก | เป็นแหล่งจ่ายไฟสำรอง |
การออกแบบและการผลิต | เน้นความทนทาน | เน้นความคุ้มค่า |
ข้อสรุป
ในการเลือกซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ควรพิจารณาถึงความต้องการในการใช้งานเป็นหลัก หากต้องการใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟหลัก ควรเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Prime Rating แต่ถ้าต้องการใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟสำรอง ควรเลือกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบ Standby Rating
ATS คืออะไร
คำตอบ :
โดยทั่วไป ATS มีสองชนิด คือ 1. ชนิดเซอร์กิตเบรคเกอร์ ซึ่งก็จะมีขนาดแอมป์ตามขนาดของเบรคเกอร์ และ 2. ชนิดคอนแทคเตอร์
|
Permanent Magnet Generator (PMG) คืออะไร
คำตอบ : โดยปกติระบบ Excitation ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมี 2 แบบซึ่งในที่นี้จะอธิบายโดยย่อ ดังนี้
2. สามารถทนต่อกระแส Short circuit ได้ถึง 300% เป็นเวลา 10 วินาที 3. สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงในการสตาร์ตครั้งแรก สามารถรับภาระโหลดทุกช่างระดับโหลด โดยเฉพาะการทนกระแสสตาร์ต มอเตอร์ได้ดี
|
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มี AVR ควบคุมไม่ควรเดินรอบเท่าไหร่ที่จะมีผลต่อขดลวดต่างๆ
คำตอบ :
|
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีการรับประกันอย่างไร
คำตอบ :
|
การติดตั้งชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงส่วนใดบ้าง
คำตอบ : ต้องตรวจสอบในเรื่องของ
|